ทาง BizOne ขอนำเสนอดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพ (KPIs) ที่มีความน่าสนใจต่ออุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มเติมอีก 8 รายการโดยมีรายละเอียดดังนี้
1.อัตราการผลิตสมบูรณ์ในครั้งเดียว: วัดประสิทธิภาพกระบวนการผลิตที่ได้ผลลัพธ์โดยสมบูรณ์
การทำงานซ้ำซ้อนเพื่อแก้ไขผลิตภัณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์มีค่าใช้จ่ายสูงและส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการผลิตโดยตรง โดยตัวชี้วัดนี้สามารถบันทึกอัตราการผลิตสมบูรณ์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความผิดพลาดหรือความสมบูรณ์ต่อการผลิจในครั้งเดียว เพื่อจัดกลุ่มและกำหนดแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพโดยมุ่งเน้นการเพิ่มอัตราการผลิตสมบูรณ์ในครั้งเดียวให้ได้สูงสุด
ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน
- อัตราการผลิตสมบูรณ์ในครั้งเดียวต่ออัตราเป้าหมาย
- อัตราการผลิตสมบูรณ์ในครั้งเดียวต่อเครื่องจักร
- อัตราการผลิตสมบูรณ์ในครั้งเดียวต่อสายการผลิต/รอบการผลิต
2.อัตราสินค้าตีกลับ: ติดตามปริมาณและสัดส่วนสินค้าถูกตีคืนหรือส่งกลับ
สินค้าที่ถูกตีคืนหรือส่งกลับเป็นส่วนหนึ่งของรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและทำให้เกิดภาพลักษณ์ด้านคุณภาพที่ไม่ดีต่อลูกค้า ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การผิดพลาดจากการผลิต, ความเสียหายจากการขนส่ง, ความผิดพลาดจากการสื่อสาร ฯลฯ การติดตามหาต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการตีกลับของสินค้าเพื่อหาแนวทางในการลดปริมาณและความเสียหายเพื่อให้ได้มาถึงรายละเอียดที่เพียงพอการการวิเคราะห์ถึงสาเหตุและต้นเหตุของปัญหาจึงมีความจำเป็น
ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน
- อัตราสินค้าตีกลับในภาพรวม
- อัตราสินค้าตีกลับต่อสินค้า
- อัตราสินค้าตีกลับต่อปัญหา/เหตุผลการตีกลับ
3.การส่งตรงเวลา: ติดตามอัตราการส่งมอบสินค้าตรงเวลาตามความต้องการของลูกค้า
หนึ่งในตัวชี้การผลิตที่มีความสำคัญเพราะไม่ว่าผลิตภัณฑ์จะดีเพียงใดหากไม่สามารถส่งได้ทันเวลาตามความต้องการใช้งานของลูกค้าย่อมไม่เกิดพึงพอใจต่อตัวผลิตภัณฑ์อย่างแน่นอน ซึ่งตัวชี้วัดนี้จะทำงานอย่างตรงไปตรงมาในการแสดงเปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์ที่จัดส่งตรงเวลาหรือระบุรายการสาเหตุที่ทำให้เกิดการส่งสินค้าไม่ทันเวลาจากปัจจัยต่างๆ เพื่อให้ทางเราสามารถหาแนวทางในการปรับปรุงการขนส่งให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าและเข้าใกล้อัตรา 100% มากที่สุด
ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน
- อัตราการส่งตรงเวลาในแต่ละช่วงเวลาเปรียบเทียบต่อเป้าหมาย
- อัตราการส่งตรงเวลาต่อลูกค้า
- สรุปรายการสาเหตุที่ทำให้ส่งสินค้าไม่ตรงเวลา
4.อัตราสินทรัพย์หมุนเวียน: ความสามารถในการสร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่ครอบครอง
อัตราสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นปัจจัยทางการเงินมากว่าการผลิตแต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการสะท้อนความสามารถในการสร้างรายได้ต่อทรัพย์สินที่ครอบครอง ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่ต้องลงทุนและมีทรัพย์สินจำนวนมากในการดำเนินการความสามารถในการสร้างรายได้จากทรัพย์สินเหล่านั้นจึงเป็นตัวบอกความสามารถในการแข่งขันในตลาดและชี้บอกโอกาศ/ความเสี่ยงต่อการการขยายธุรกิจในอนาคตได้ โดยคำนวณจาก
การหมุนเวียนของสินทรัพย์ = รายได้ / สินทรัพย์รวม
ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน
- อัตราสินทรัพย์หมุนเวียนต่อช่วงเวลา
- อัตราสินทรัพย์หมุนเวียนต่อรายการผลิต
5.ผลตอบแทนจากสินทรัพย์: ติดตามอัตรากำไรต่อทรัพย์สิน
ตัวชี้วัดความคุ้มค่าและสร้างผลกำไรผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) เพื่อเห็นความสามารถในการสร้างผลกำไรจากเงินทุนที่คุณลงทุนนั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยอย่างไร สามารถนำไปเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพที่ดีใช้ในการจัดการงบกำไรขาดทุนและสินทรัพย์เพื่อออกแบบรูปแบบธุรกรรมที่เหมาะสมและกำหนดรูปแบบการแข่งขันต่อธุรกิจต่อไป
ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน
- ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ต่อช่วงเวลา
- ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ต่อรายการผลิต
6. ต้นทุนต่อหน่วย: ติดตามและเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนต่อหน่วย
ตัวชี้วัดนี้จะแสดงผลประเมินต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นต่อการผลิตสินค้าหนึ่งรายการทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรโดยครอบคุม ค่าแรง วัสดุ กระบวนการการผลิต คงคลัง ขนส่ง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ส่งต่อต้นทุนการผลิตหลักคืออะไรและมีมูลค่าบนสัดส่วนต้นทุนรวมเป็นเท่าใด โดยปัจจุบันเราสามารถทำได้แม่นยำขึ้นผ่านเทคโนโลยี IoT หรือ Sensors เพื่อสามารถวัดปริมาณการใช้งานทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นวัสดุหรือพลังงานได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน
- ต้นทุนต่อหน่วยต่อช่วงเวลา
- ต้นทุนต่อหน่วยต่อสินค้า
- ต้นทุนต่อหน่วยต่อประเภทต้นทุน
7. ต้นทุนบำรุงรักษา: ประเมินต้นทุนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ของคุณในระยะยาว
หลังจากที่ประเมินทรัพย์สินติดตามกำลังการผลิต และรายได้ที่คุณได้รับจากสินทรัพย์นั้นแล้ว อีกหนึ่งตัวชี้วัดที่สำคัญคือการจัดการบำรุงรักษาทรัพย์สินเหล่านั้นให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพบนต้นทุนที่เหมาะสม เช่น การให้ความสำคัญกับการซ่อมบำรุงกับเครื่องจักรที่หลักที่ใช้ผลิตจำนวนมาก หรือ เครื่องจักรใดมีแนวโน้มค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงณ์เชิงป้องกันและแก้ไขเริ่มที่สูงขึ้นอาจจะพิจารณาเรื่องการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่อาจจะคุ้มค่ากว่า
ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน
- ต้นทุนบำรุงรักษาต่อช่วงเวลา
- ต้นทุนบำรุงรักษาต่อเครื่องจักร
- ต้นทุนบำรุงรักษาต่อเป้าหมายค่าทุนบำรุงรักษาที่กำหนด
8. อัตรารายได้ต่อพนังงาน: ประสิทธิภาพในการสร้างรายได้ต่อปริมาณแรงงาน
ตัวชี้วัดนี้จะประเมินขีดความสามารถในการสร้างรายได้ต่อจำนวนพนังงานซึ่งในบางกลุ่มอุตสาหกรรมจำนวนพนังงานส่งผลต่อความสามารถในการผลิตโดยตรงทำให้การประเมินเห็นถึงความเชื่องโยงของการเติบโตของจำนวนพนังงานที่ส่งผลต่อรายได้ โดยแสดงให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าธุรกิจกำลังเติบโตในทิศทางที่เหมาะสม เช่น ชี้วัดปริมาณที่เหมาะสมขององค์กรระหว่างแรงงานและกระบวนการอัตโนมัติควรมีสัดส่วนเท่าใดถึงมีประสิทธิภาพสูงสุด
ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน
- อัตรารายได้ต่อพนังงานต่อช่วงเวลา
- อัตรารายได้ต่อพนังงานต่อสินค้า
- อัตรารายได้ต่อพนังงานต่อสายการผลิต
อ่านบทความ Transform to Industry 4.0 Part 6 ในส่วนแรก
จากที่ได้เรียนในบทความที่แล้วนี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของตัวชี้วัดที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพและความสามารถในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งแต่องค์กรต้องวิเคราะห์และเป็นผู้กำหนดเกณฑ์ที่เหมาะสมของตนเองโดยสามารถเพิ่มเติมปัจจัยอื่นๆ ประกอบการวิเคราะห์คุณค่าหรืออาจประโยชน์ต่อการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้งานในการบริหารอุตสาหกรรมของคุณ
หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงแพลตฟอร์มตามแนวคิด Industry 4.0 หรืออยากเห็นตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยีในด้านต่างๆ โปรดติดต่อ BizOne เพื่อรับคำปรึกษาฟรี!