Transform to Industry 4.0 Part 6

ตัวอย่างตัวชี้วัดประสิทธิภาพสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตพร้อมรายละเอียด นิยาม วิธีการใช้งาน รวมถึงมาตรวัดที่เหมาะกับการนำไปปรับใช้งาน

               หนึ่งปัจจัยที่น่าสนใจหลังคุณสามารถปรับปรุงธุรกิจของคุณเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 คือการนำข้อมูลต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นจากการพัฒนากระบวนการมาใช้การวิเคราะห์และตัดสินใจ เพื่อสร้างกระบวนการชับเคลื่อนหรือปรับปรุงธุรกิจของคุณให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยใช้พื้นฐานจากข้อมูล (Data driven)

โดยหากพิจารณาจากข้อมูลที่มีอยู่มากมายในธุรกิจอุตสาหกรรม ทาง BizOne ขอนำเสนอดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพ (KPIs) ที่มีความน่าสนใจรวมถึงประโยชน์ในแต่ละรายการ

1.      ปริมาณการผลิต (Production Volume) : ติดตามประเมินปริมาณการผลิตของคุณตามช่วงเวลาที่สนใจ

ทุกโรงงานต้องการทราบภาพรวมของกำลังการผลิตภายใต้ช่วงเวลาที่สนใจ เช่น รายเดือน รายปี รายวัน หรือแม้กระทั้ง แบบ Realtime ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการสร้างขีดความสามารถในการสร้างรายได้ขององค์กรและใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงการความก้าวหน้า ถดถอย หรือทราบถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นเมื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ในแต่ละช่วงเวลา

ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน

  • ปริมาณการผลิตตามรายการสินค้า
  • ปริมาณการผลิตตามรายการเครื่องจักร
  • ปริมาณการผลิตเปรียบเทียบต่อเป้าหมายการผลิต

2.      การหยุดทำงานของสายการผลิต (Production Downtime): ติดตามปัญหาและพฤติกรรมการหยุดทำงานของสายการผลิต

ซึ่งในมุมกลับกันปัจจัยสำคัญซึ่งอาจทำให้โรงงานสูญเสียรายได้หรือลูกค้าจากการหยุดทำงานของสายการผลิตด้วยปัจจัยต่างๆ การทราบถึงปัญหาและพฤติกรรมการหยุดทำงานจึงเป็นข้อมูลสำคัญเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และวางแนวทางการแก้ไขในการลดเวลาหยุดทำงานให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียผลกำไร

ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน

  • สัดส่วนการหยุดทำงานของสายการผลิตตามเหตุผล
  • บันทึกประวัติการหยุดการผลิตโดยระบุเครื่องจักร สาเหตุ และระยะเวลาที่หยุดการผลิต

3.      ต้นทุนการผลิต (Production Costs): ตรวจสอบต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อการผลิต

การติดตามต้นทุนการผลิตโดยวิเคราะห์แตกย่อยรายละเอียดลงถึงระดับผลิตภัณฑ์ต่อประเภทของต้นทุนการผลิต เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปริหารจัดการต้นทุนหรือผลิตภัณฑ์ รวมถึงใช้เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพหากมีกระบวนเปลี่ยนแปลงต้นทุนเพื่อวิเคราะห์ถึงประโยชน์หรือผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ละเอียด

ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน

  • ต้นทุนต่อผลิตภัณฑ์
  • ต้นทุนต่อกระบวนการผลิต
  • สัดส่วนต้นทุนแยกตามประเภท

4.      ปริมาณงาน (Throughput): วัดความสามารถในการผลิตของคุณ

ตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนประสิทธิภาพทางธุรกิจได้เป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นการวัดความสามารถของเครื่องจักรในการผลิตต่อช่วงเวลาที่สนใจ โดยคำนวณด้วยจำนวนหน่วยที่ผลิตในช่วงเวลาที่สนใจหารด้วยช่วงเวลาที่สนใจ เช่น ช่วงเวลามาตรฐานที่สนใจคือ 5 นาที เครื่องจักร ก สามารถผลิตได้ 20 ชิ้น ปริมาณงาน = 20/5 หรือ 4 เพื่อใช้เป็นเกณฑ์วัดความสามารถในการผลิตของเครื่องจักต่างๆ

ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน

  • ปริมาณงานต่อเครื่องจักร
  • ปริมาณงานต่อประเภทผลิตภัณฑ์

5.      การใช้กำลังการผลิตติดตามการใช้ความสามารถกรผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การทราบถึงกำลังการผลิตคือตัวชี้วัดสำคัญในการทราบถึงความสามารถในการทราบความคุ้มค่าและประสิทธิภาพในการใช้งานต้นทุน โดยการติดตามกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆเพื่อวิเคราะห์และหาแนวทางในการเพิ่มการใช้กำลังการผลิตให้สูงสุด เพื่อให้เครื่องจักรของคุณทำงานในรอบเวลาที่เหมาะสมและทราบถึงปัญหาที่ควรได้รับการปรับปรุง

ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน

  • การใช้กำลังการผลิตต่อเครื่องจักร
  • การใช้กำลังการผลิตต่อสายการผลิต
  • บันทึกประวัติการใช้กำลัง

6.      ผลผลิตรอบแรก (First Pass Yield – FPY): ตรวจสอบคุณภาพการผลิต

ตัวชี้วัดที่บ่งชี้ประสิทธิ์ภาพการผลิตโดยการหาอัตราการผลิตชิ้นงานดีที่เกิดขึ้นจากเครื่องจักรโดยคำนวนจากจำนวนชิ้นงานดี/จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ โดยหากคุณสามารถบริหารอัตราการผลิตชิ้นงานดีให้ได้ปริมาณสูงสุดหมายความว่ากระบวนการผลิตและเครื่องจักรของคุณมีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อการลดต้นทุนในการตรวจสอบ, แก้ไข, ทำซ้ำชิ้นงาน และความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้น

ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน

  • ผลผลิตรอบแรกต่อเครื่องจักร
  • ผลผลิตรอบแรกต่อสายการผลิต
  • บันทึกประวัติผลผลิตรอบแรก

7.      ความหนาแน่นของข้อบกพร่อง(Defect Density): การติดตามสินค้าที่เสียหาย

ตัวชี้วัดที่สนใจอัตราของชิ้นงานที่เกิดข้อบงพร่องและไม่ผ่านมาตรฐานเพื่อกลายเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปโดยอาจเกิดจากความผิดผลาดในขั้นตอนต่างๆ จากการผลิตโดยสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ความผิดพลาดของเครื่องจักร, ความผิดพลาดของบุคลากร หรือ ความผิดพลาดขณะลำเลียงชิ้นงาน โดยวิธีการคำนวนจะใช้จำนวนชิ้นงานเสีย/จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ ทำให้เราทราบถึงแนวทางการแก้ไขและปรับปรุงสายการผลิตของเราต่อไป

ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน

  • ความหนาแน่นของข้อบกพร่องต่อเครื่องจักร
  • ความหนาแน่นของข้อบกพร่องต่อผลิตภัณฑ์
  • ความหนาแน่นของข้อบกพร่องต่อสาเหตุการเสียหายของชื้นงาน

8.      อัตราของเสีย: ติดตามจำนวนหน่วยที่ล้มเหลว

ตัวชี้วัดที่สนใจอัตราของวัสดุที่ไม่สามารถกลายเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต, ข้อบกพร่อง, ของมีตำหนิ หรือเศษซากที่สูญเสีย โดยสามารถคำนวนวได้จากหลายรูปแบบ เช่น

  • (ปริมาณวัสดุที่เสียหาย/ปริมาณวัสดุที่ใช้ในการผลิต) * 100
  • ((จำนวนชิ้นงานดี – ปริมาณชิ้นงานที่คาดว่าจะผลิตได้) /ปริมาณชิ้นงานที่คาดว่าจะผลิตได้) * 100
  • (จำนวนของเสีย/จำนวนชิ้นงานดีที่ผลิตได้) *100

โดยหากทราบอัตราของเสียที่เกิดขึ้นในหลากหลายมุมมองจะสามารถพิจารณาถึงแนวทางการจัดการของเสียให้เกิดประโยชน์หรือลดปริมาณของเสียที่ไม่จำเป็นให้น้อยลงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้าที่ดีเยี่ยมในขณะที่ลดการสูญเสียวัสดุรวมทั้งลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออกไปได้

ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน

  • อัตราของเสียต่อวัสดุ
  • อัตราของเสียต่อเครื่องจักร
  • อัตราของเสียต่อผลิตภัณฑ์
  • อัตราของเสียต่อประเภทของเสีย

9.      ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness – OEE): ประเมินความสามารถในการทำงานของเครื่องจักร

การวิเคราะห์ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรเพื่อเข้าใจขีดความสามารถของเครื่องจักรในการผลิตบนเวลาการผลิตที่ได้วางแผนไว้ผ่านการคำนวณหาสัดส่วนเฉลี่ยของ 3 องค์ประกอบจากผลการทำงานของเครื่องจักรเพื่อสร้างตัวชี้วัดที่สามารถเปรียบเทียบได้ประกอบไปด้วย

9.1.       อัตราการเดินเครื่องจักร (Availability) = เวลาเดินเครื่อง (Operating Time)/เวลารับภาระงาน (Loading Time)

9.2.       ประสิทธิภาพของเครื่องจักร (Performance Efficiency) = จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้/ปริมาณผลิตผลที่เครื่องสามารถผลิตได้

9.3.       อัตราคุณภาพ (Quality Rate) = จำนวนชิ้นงานดี /จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้

โดยนำข้อมูลข้างต้นมาคำนวณเป็น ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร = (อัตราการเดินเครื่องจักร * ประสิทธิภาพของเครื่องจักร * อัตราคุณภาพ) * 100

ตัวอย่างมาตราวัดที่ใช้งาน

  • ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรตามช่วงเวลาที่สนใจ
  • บันทึกประวัติประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรตามช่วงเวลาที่สนใจ

ซึ่งในบางองค์กรสามารถลงรายละเอียดการวัดประสิทธิภาพการผลิตโดยอ้างอิงเกณฑ์เวลาที่แตกต่างดังนี้

  • Overall Operations Effectiveness (OOE): ประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของโดยคำนึงถึงเวลาที่ไม่ได้วางแผนไว้ด้วยการพิจารณาจากเวลาในการทำงานทั้งหมดเป็นค่าสูงสุด
  • Total Effective Equipment Performance (TEEP): Track overall effectiveness: พิจารณาเวลาในการผลิตที่เป็นไปได้สูงสุดที่เครื่องจักรสามารถทำงานได้ เช่น 24 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจะคำนวณโดยรวมช่วงเวลาที่ไม่มีกะการผลิตและไม่มีแผนการผลิตด้วย

อ่านบทความ Transform to Industry 4.0 Part 6 ภาคต่อ

นี่เป็นเพียงตัวชี้วัดที่มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการผลิตที่สามารถช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถเข้าใจรายละเอียดการขับเคลื่อนและสถานภาพทางธุกิจ เพื่อใช้ข้อมูลในการวางกลยุทธ์ วิเคราะห์ และตัดสินใจ ซึ่งสร้างความแม่นยำในการปรับปรุงองค์กรให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้ ทางเรายังมีตัวชี้วัดอื่นๆ ที่น่าจสนในและจะนำมาแบ่งปันให้ผู้ติดตามบทความต่อใน บทความ Transform to Industry 4.0 ตอนที่ 6 – ตัวอย่างตัวชี้วัดสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ส่วนที่ 2

หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงแพลตฟอร์มตามแนวคิด Industry 4.0 หรืออยากเห็นตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยีในด้านต่างๆ โปรดติดต่อ BizOne เพื่อรับคำปรึกษาฟรี!

Dela artikeln på sociala medier