transform industry part 5

Transform to Industry 4.0 Part 5

Skapa en digital representation av er fysiska miljö. Man kan till exempel bygga upp en produktionslina, fastighet eller en stadsdel. Hämta in data från sensorer (IoT), datalager eller andra system och interagera med lösningen.

Titta på vårt exempel nedan där vi skapat en enkel demo baserat på vårt kontor.

Kontakta oss för mer information!

Transform to Industry 4.0 Part 5

การประเมินความคุ้มค่าจากการลงทุนจะเห็นประโยชน์ในเชิงปริมาณได้อย่างชัดเจนเมื่อเราได้นำกระบวนการ Transformation ไปใช้งานได้ถึงในระดับ 2. การสร้างกระบวนการใช้งานข้อมูลบนกิจกรรมทางธุรกิจ หรือ 3. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความได้เปรียบ ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องผ่านการพัฒนากระบวนการที่ 1. สร้างกระบวนการเก็บข้อมูลแบบดิจิตอลให้แล้วเสร็จ โดยบทความนี้จะนำเสนอวิธีการประเมินความคุ้มค่ารวมถึงการยกตัวอย่างเครื่องมือที่เหมาะสมในการนำข้อมูลมาพิจารณา

*หมายเหตุ นี่เป็นเพียงตัวอย่างประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการการเปลี่ยนแปลงไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ทั่วไป ทั้งนี้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริงขึ้นอยู่กับรูปแบบองค์กรและขอบเขตการพัฒนาของท่านซึ่งอาจมีประโยชน์มากกว่าหรือน้องกว่าแตกต่างกันไป

1.      ประเมินประโยชน์

1.1.   เพิ่มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล

1.1.1.    การเพิ่มผลผลิตโดยเพิ่มขีดความสามรถในการจัดการทรัพยากรในการทำงาน, ป้องกันปัญหา, การเร่งกระบวนการผลิต และอื่นๆ โดยการนำข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละกิจกรรมมาวิเคราะห์เพื่อทราบถึงสถานะการณ์ปัจจุบันที่องค์กรดำเนินการ จนถึงการนำข้อมูลมาพยากรณ์/ทำนายเพื่อหาแนวทางในการตัดสินใจปรับปรุงและเพิ่มผลผลิตบนพื้นฐานของข้อมูล

1.1.2.    ปรับปรุงคุณภาพโดยการเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบติดตามคุณภาพสินค้าแยกตามขั้นตอนการผลิตทำให้สามารถทราบถึงจุดอ่อน/แข็งของสายการผลิตในด้านคุณภาพเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงหรือการทำตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) ที่มีความจำเป็นมากในอุตสาหกรรมอาหาร หรือ เป็นส่วนสำคัญในกิจกรรมการกำกับดูแลและการตรวจสอบขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับมาตรฐาน

1.1.3.    ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) คือการคำนวณความสามารถในการทำงานของเครื่องจักร โดยอ้างอิงจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและสรุปออกมาในรูปแบบเปอเซ็น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม 4.0 สร้างความสามารถในการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเครื่องจักรเพื่อคำนวณค่า OEE หรือเพิ่มขีดความสามารถในการพิจารณารายละเอียดได้มากขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ในการวางแผนการผลิตให้ดึงประสิทธิภาพเครื่องจักรได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

โดยการคำนวณ OEE จะหาสัดส่วนเฉลี่ยขององค์ประกอบ 3 ด้านจากเครื่องจักร คืออัตราการเดินเครื่องจักร (Availability)ประสิทธิภาพของเครื่องจักร (Performance Efficiency)อัตราคุณภาพ (Quality Rate)OEE = Availability x Performance Efficiency x Quality Rate

1.1.4.    ความยืดหยุ่นและคล่องตัวขององค์กรเนื่องจากปัจจุบันตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ซึ่งผู้ผลิตต้องแข่งขันเพื่อตอบสนองความเหล่านั้น ขีดความสามารถในการเปลี่ยนแปลงที่ยืดหยุ่นและการบริการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมาสามารถเพิ่มขีดความสามารถ เช่น ติดตามกระแสปริมาณการซื้อที่เพิ่มขึ้นเพื่อวางแผนการผลิต การตรวจสอบเปรียบเทียบข้อมูลความต้องการสินค้าและราคาในตลาด การรวมใบสั่งงานที่ใช้วัสดุเดียวกันเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง และนำเสนอมุมมองธุรกิจด้านต่างๆแบบเรียลไทม์จะช่วยเพิ่มผลกำไรและความได้เปรียบในตลาด

1.1.5.    การตอบสนองความต้องการของลูกค้า จากรูปแบบการซื้อขายที่เปลี่ยนไปผู้ผลิตสินค้าสามารถจำหน่ายสินค้าตรงไปยังผู้บริโภค ซึ่งทำให้เกิดความใกล้ชิดกับผู้ใช้งานสินค้ามากยิ่งขึ้นและสามารถรวบรวมข้อมูลการใช้งานและความต้องการของผู้บริโภคมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการหรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย

1.2.   ลดกระบวนการ/ต้นทุน

1.2.1.    ต้นทุนบุคลากร โดยการใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพหรือลดงานที่ไม่คุ้มค่าหากจัดทำโดยมนุษย์ เช่น การจัดทำรายงานย้อนหลัง 5 ปีถึงความสอดคล้องระหว่างผลผลิต กำลังการทางผลิตและความต้องการของตลาด หรือ ต้องการเปรียบเทียบการสั่งซื้อวัตถุดิบจากคู่ค้าเพื่อวางแผนกการต่อรองและจัดซื้อ ในกรณีนี้หากเป็นระบบ Manual แบบเก่าอาจต้องการรวบรวมข้อมูลจากหลายส่วนงาน ใช้เวลานานในการรวบรวมและตรวจสอบ รวมถึงอาจพบว่าข้อมูลมีความผิดพลาด/ไม่สมบูรณ์ทำให้ข้อมูลประกอบรายงานไม่น่าเชื่อถือและใช้ต้นทุนแรงงานจำนวนมากในการสร้างขึ้น หากทำโดยเทคโนโลยีตามแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 สามารถเรียกใช้งานผ่านระบบ Business Intelligence (BI) เพื่อดูรายงานได้แบบ Real time บนข้อมูลที่ระบบได้ผ่านการเก็บบันทึกแบบอัตโนมัติไว้แล้ว

1.2.2.    ต้นทุนค่าวัสดุสิ้นเปลืองและดูแลเครื่องจักร การเก็บข้อมูลการใช้งานวัสดุและเครื่องจักรประกอบการผลิตเพื่อวิเคราะห์แนวทางการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการวางแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เนื่องจากในหลายอุตสาหกรรมต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำกับดูแลให้เกิดความเหมาะสมซึ่งหากการบำรุงเครื่องจักรและเปลี่ยนวัสดุสิ้นเปลืองน้อยเกินไปอาจเกิดความเสียหายต่อเครื่องจักรและส่งผลกระทบต่อแผนการผลิต หรือหากมากเกินไปทำให้ต้นทุนที่สูงเกินจำเป็น ซึ่งสามารถเทคโนโลยีจะมีบทบาทในการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญให้สามารถตัดสินในได้แม่นยำมากขึ้นและภายใต้แผนการที่เหมาสม

1.2.3.    ความผิดพลาดและความเสี่ยง การกระบวนการเพื่อเก็บข้อมูลประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) และกระบวนการต้นทุนค่าวัสดุสิ้นเปลืองและดูแลเครื่องจักรทำให้เราสามารถมองเห็นถึงความผิดพลาดและความเสียงที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อวางแผนและแนวทางการป้องกันส่งเหล่านี้ แต่หากเราสามารถเพิ่มมุมมองเรื่องการจัดเก็บและบันทึกรายละเอียดความผิดพลาด ก็สามารถนำมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อวางแผนการจัดการความผิดพลาดและความเสี่ยงในระยะสั้นจนถึงระยะยาวได้ เช่น ในกรณีมีการเก็บข้อมูลการหยุดฉะงักของการผลิตแต่มีการเก็บรายละเอียดของปัญหาและแนวทางการแก้ไขที่ฉัดเจน ซึ่งนำไปสู่การพิจารณาการซื้อเครื่องจักรโดยชี้ไปยังเครื่องจักรเหมาะสมและสามารถเปรียบความคุ้มค่าจากความเสียหาย ต้นทุนการแก้ปัญหา และต้นทุนการซื้อเครื่องจักรใหม่ได้เป็นต้น

1.2.4.    ความซ้ำซ้อนในการทำงาน การพัฒนาโดยการนำเทคโนโลยีมาต่อเชื่อมกระบวนการทำงานต่างๆ สามารถลดความซ้ำซ้อนของกิจกรรมการทำงานได้อย่างชัดเจน อย่างเช่นในกรณีการได้รับคำสั่งซื้อ อาจต้องมีการตรวจสอบกับฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายวางแผนการผลิต ฝ่ายการผลิต และฝ่ายการจัดส่งสินค้า ซึ่งข้อมูลอาจมีการคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดได้ แต่หากระบบสามารถเชื่อมต่อระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันให้ผู้ดำเนินการสามารถเห็นข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงานของตนเองได้อัตโนมัติความซ้ำซ้อนก็จะหมดไป​​​​

2.      ประเมินต้นทุน

สามารถประเมินได้โดยการรวมต้นทุนค่าใช้จ่ายเพื่อที่จะได้มาซึ่งการเปลี่ยนแปลง ไปยังอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งโดยปกติจะมีองค์ประกอบดังนี้

2.1.  Hardware กลุ่มวัสดุ/อุปกรณ์ทางกายภาพต่างๆ เช่น เครื่องจักร, เครื่องคอมพิวเตอร์, เซ็นเซอร์, อุปกรณ์ IoT ขึ้นอยู่กับรูปแบบระบบที่เราต้องการนำมาใช้งานในองค์กร

2.2.  Software/Tools กลุ่มระบบอละเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างกระบวนการทางดิจิตอลในการเก็บข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลข้อมูลเพื่อใช้ประกอบ เช่น โปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ IoT, ระบบจัดเก็บข้อมูล (ETL), ระบบบันทึกและจัดการข้อมูล (Data warehouse), ซอฟต์แวร์วิเคราะห์และแสดงผลข้อมูล (Business Intelligence) และระบบอื่นๆ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และความต้องการขององค์กร

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ Cloud ที่สามารถส่งมอบบริการและการใช้งานในลักษณะ Software as a Service (SaaS) ที่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วน Hardware และ Software ลงเนื่องจากไม่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่หรือเครื่องมือสำหรับติดตั้งใช้งานและไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Software บนเครื่องดังกล่าว เราเพียงแค่ซื้อบริการการใช้งานบนนระบบของผู้ให้บริการผ่าน Internet ซึ่งผู้ให้บริการจะคิดค่าใช้จ่ายตามปริมาณที่ใช้งานจริงซึ่งมีราคาที่ต่ำกว่ามากสำหรับผู้เริ่มต้น รวมถึงมีความหยืดหยุ่นในการลดเพิ่มปริมาณการใช้งานตามความเหมาะสม

2.3.  Implementation/Operation การพัฒนาและประยุกต์เทคโนโลยีมาใช้งานในองค์กรเป็นสิ่งหนึ่งที่หลายองค์กรติดปัญหาในการเลือกพัฒนาระบบด้วยตนเองหรือจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมากช่วยพัฒนา ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกและวิธีการคิดต้นทุนที่แตกต่างกัน ดังนี้

2.3.1.       In House Development​​​​

ข้อดีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมีความเข้าใจในธุรกิจและความต้องการสามารถดูแลต่อด้วยตนเองได้
ข้อเสียมีข้อจำกัดเรื่องขอบเขตการพัฒนาตามจำนวนคนขององค์กรต้องให้เวลาในการพัฒนาทักษะศึกษาการใช้เครื่องมือต้องพัฒนาประสบการณ์ใหม่
ต้นทุนต้นทุนเวลาของบุคลากรที่ร่วมทีมพัฒนาแต่สามารถคิดเป็นจำนวนเงินได้โดยเวลาดำเนินโครงการคูณอัตราเงินเดือนต้นทุนด้านเวลาดำเนินโครงการ


2.3.1.       Outsource

ข้อดีมีความเชี่ยวชาญและประสบกาณ์ในเทคโนโลยีลดเวลาการพัฒนาไม่มีข้อกำจัดเรื่องทรัพยากรกระทบฝ่ายปฏิบัติงานปกติขององค์กรน้อย
ข้อเสียเสียค่าใช้จ่ายภายนอกต้องถ่ายองค์ความต้องการและปรับความเข้าใจในธรกิจองค์กรอาจไม่สามารถเรียนรู้เพื่อดูแลต่อได้
ต้นทุนค่าจ้างพัฒนาต้นทุนด้านเวลาดำเนินโครงการ

3.      การประเมินความคุ้มค่า

3.1.  การประเมินประโยชน์ที่จะได้รับ สามารถทำได้ 2 รูปแบบ

3.1.1.    การประเมินโดยสร้างเกณฑ์ประโยชน์กับความเร่งด่วนตามปัจจัยในหัวข้อที่ 1 โดยแบ่งเป็นระดับสูงกลางต่ำและทำการประเมินลักษณะของปัจจัยของประโยชน์ต่างตกอยู่ในระดับใดบ้าง มีข้อดีคือสามารถจัดทำได้อย่างรวดเร็วและสามารถเห็นกรอบความต้องการขององค์กรในภาพรวมเพื่อกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบ​​​​​​

 ประโยชน์ความเร่งด่วน
เพิ่มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล
เพิ่มผลผลิตกลางสูง
ปรับปรุงคุณภาพสูงสูง
ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE)กลางกลาง
ความยืดหยุ่นและคล่องตัวกลางต่ำ
การตอบสนองความต้องการของลูกค้าต่ำต่ำ
ลดกระบวนการ/ต้นทุน
ต้นทุนบุคลากรสูงต่ำ
ต้นทุนค่าวัสดุสิ้นเปลืองและดูแลเครื่องจักรกลางสูง
ความผิดพลาดและความเสี่ยงสูงสูง
ความซ้ำซ้อนในการทำงานต่ำกลาง

 
3.1.2.    ประเมินเป็นในรูปแบบเชิงปริมาณโดยกำหนดสัดส่วนหรือมูลค่าตามปัจจัยโดยคาดการณ์ประสิทธิภาพที่จะเพิ่มขึ้นขั้นต่ำหลังการพัฒนา มีข้อดีในเรื่องเห็นข้อมูลเชิงปริมาณที่ชัดเจนแต่มีความยากในการรวบรวมและพิจารณาข้อมูล

 ค่าเฉลี่ยปัจจุบันเป้าหมาย
เพิ่มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล
เพิ่มผลผลิต100%+3%
ปรับปรุงคุณภาพ70%+10%
ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE)85%+5%
ความยืดหยุ่นและคล่องตัว50%+30%
การตอบสนองความต้องการของลูกค้า30%+50%
ลดกระบวนการ/ต้นทุน
ต้นทุนบุคลากร100%-60%
ต้นทุนค่าวัสดุสิ้นเปลืองและดูแลเครื่องจักร100%15%
ความผิดพลาดและความเสี่ยง10%-5%
ความซ้ำซ้อนในการทำงาน100%-5%


ในกรณีต้องการประเมินเป็นตัวเงินต้องทำการประเมินเป็นลักษณะเชิงปริมาณเท่านั้นและนำเปอร์เซ็นต์ไปคูณกับต้นทุนในหัวข้อนั้นๆ ซึ่งอาจทำให้การได้มาซึ่งข้อมูลซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เช่น ต้นทุนบุคลากรสามารถคิดจากเงินเดือนคนในกิจกรรมนั้นโดยคิดเป็นรายชั่วโมงที่ใช้ทั้งคือมูลค่าปัจจุบันและลบหลังพัฒนาออกไป 60% จะได้ยอดค่าใช้จ่ายที่ลดลง

3.2.  การประเมินต้นทุน อ้างอิงเป็นจำนวนมูลค่าเงินที่ใช้ในส่วนต่างๆ

3.2.1.       แบบภาพรวม

2.1.        Hardware
เซ็นเซอร์10X0,000
เครื่องคอมพิวเตอร์1X0,000
อุปกรณ์ IoT10X0,000
2.2.        Software/Tools
   
   
2.3.        Implementation/Operation
   

3.2.2.    แบบแยกส่วนการลงทุนตามด้านที่ต้องการปรับปรุง

การเพิ่มผลผลิต
2.1.        Hardware
   
2.2.        Software/Tools
   
2.3.        Implementation/Operation
   
การลดต้นทุนบุคลากร
2.1.        Hardware
   
2.2.        Software/Tools
   
2.3.        Implementation/Operation
   
ด้านอื่นๆ

3.3.  การเปรียบเทียบ

จากวิธีการดังกล่าวเราสามารถทำการเปรียบเทียบประโยชน์ต่อค่าใช้จ่ายเพื่อนำมาพิจารณาถึงความคุ้มค่าเหมาะสมหรือเลือกทำเพียงบางส่วนตามความจำเป็น เช่น

 ประโยชน์ความเร่งด่วนยอดลงทุน
เพิ่มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล 
เพิ่มผลผลิตกลางสูงX0,000
ปรับปรุงคุณภาพสูงสูงX0,000
ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE)กลางกลางX0,000
ความยืดหยุ่นและคล่องตัวกลางต่ำX0,000
การตอบสนองความต้องการของลูกค้าต่ำต่ำX0,000
ลดกระบวนการ/ต้นทุน 
ต้นทุนบุคลากรสูงต่ำX0,000
ต้นทุนค่าวัสดุสิ้นเปลืองและดูแลเครื่องจักรกลางสูงX0,000
ความผิดพลาดและความเสี่ยงสูงสูงX0,000
ความซ้ำซ้อนในการทำงานต่ำกลางX0,000

นี่เป็นเพียงแนวทางการประเมินความคุ้มค่าจากการลงทุนซึ่งแต่องค์กรแต่ละองค์กรต้องเป็นผู้กำหนดเกณฑ์ที่เหมาะสมของตนเองและสามารถเพิ่มเติมปัจจัยอื่นๆ ที่เหมาะสมประกอบการวิเคราะห์คุณค่าหรือประโยชน์ต่อการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้งาน

หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงแพลตฟอร์มตามแนวคิด Industry 4.0 หรืออยากเห็นตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยีในด้านต่างๆ โปรดติดต่อ BizOne เพื่อรับคำปรึกษาฟรี!​​

Vill ni veta mer? Kom i kontakt med oss

Kom i kontakt med oss så får du en timme gratis konsultation.