Transform to Industry 4.0 Part 1

กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเป็นกลุ่มแรกของภาคธุรกิจที่ริเริ่มนำเทคโนโลยีมาใช้งานในกระบวนการทางธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวถูกหลอมรวมกับธุรกิจทำให้สามารถบอกได้ว่าประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่ใช้งานสะท้อนถึงขีดความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจของอุตสาหกรรมการนั้น จึงทำให้การเลือกเทคโนโลยีตั้งแต่การลงทุนออกแบบและคัดเลือกเครื่องจักรอุปกรณ์มีความสำคัญและใช้เงินจำนวนมาก แต่ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้เกิดข้อจำกัดในการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่การแข่งขันในตลาดปัจจุบันเทคโนโลยีที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอเนื่องจากกระบวนการซื้อขายที่เปลี่ยนไป อีกทั้งข้อมูลเป็นส่วนสำคัญที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อธรุกิจได้มากขึ้น และการแข่งขันทางด้านประสิทธิภาพ/ราคาที่สูงขึ้น จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปรับปรุงเทคโนโลยีที่ใช้งานให้เหมาสมกับตามแนวทางของอุตสาหกรรม 4.0

Transform to Industry 4.0 – Pain & Gain
PainGain
ข้อจำกัดเรื่องความยืดหยุ่นและการแข่งขันการตัดสินใจทำได้ยากเนื่องจากความกังวลว่าข้อมูลที่มีอยู่ไม่เพียงพอหรือไม่ถูกต้องค่าใช้จ่ายในการวัดประสิทธิภาพของกระบวนการ กิจกรรม และอุปกรณ์ในองค์กรอาจเป็นเรื่องยากและใช้เวลานานการรวมข้อมูลทางธุรกิจอาจไม่สมบูรณ์ เนื่องจากข้อมูลมาจากหลายหลากแผนกบนระบบที่แตกต่างกันเพิ่มความสามารถมองเห็นข้อมูลเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการปรับตัวและแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพสามารถกำหนดรูปแบบและวิธีการใช้งานข้อมูลได้ตามความต้องการทางธุรกิจสร้างกระบวนการวัดผลที่มีประสิทธิภาพโดยอิงจากข้อมูลจริงและทำให้การวัดประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมมากขึ้นสามารถสร้างความสัมพันธ์ของข้อมูลได้โดยไม่มีข้อจำกัดของแหล่งที่มาของข้อมูล เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้ข้อมูลกิจกรรมการขาย การซื้อ และการจัดเก็บ เพื่อให้การวิเคราะห์สถานการณ์ทางธุรกิจจริง
ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากกระบวนการบันทึกข้อมูลโดยมนุษย์ และอาจพบปัญหาเรื่องความสมบูรณ์ของข้อมูลหรือความไม่ครบถ้วนในรายละเอียดด้านการจัดเก็บและค้นหาข้อมูลในรูปแบบเอกสารเรื่องความถูกต้องและความพร้อมของข้อมูลเมื่อต้องการใช้งานการรวบรวม โครงสร้าง และกระบวนการจัดเก็บข้อมูลอัตโนมัติรวบรวมข้อมูลผ่านเซ็นเซอร์หรือนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ระบบด้วยโปรแกรมทั้งในแบบเรียลไทม์หรือตามช่วงเวลาที่สนใจข้อมูลถูกเก็บไว้ในโครงสร้างที่เข้าถึงได้ง่ายผ่านแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ที่ทันสมัยสามารถกำหนดการตั้งค่าการจัดเก็บข้อมูล กระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง และความยืดหยุ่นในการจัดการการควบคุมการเข้าถึงเพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อจำกัดของการสื่อสารข้อมูลและการใช้งานข้อมูลความยากลำบากในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลส่งผลให้มีความมั่นใจในการตัดสินใจต่ำการสื่อสารระหว่างคนกับอุปกรณ์เพื่อใช้งานข้อมูลมีความซับซ้อน ซึ่งอาจนำไปสู่การตอบสนองที่ล่าช้าหรือพลาดโอกาสในการค้นหาสาเหตุของปัญหาไม่เป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด เนื่องจากอุปกรณ์ไม่สามารถสื่อสารกันได้ และต้องการให้มนุษย์ช่วยควบคุมและสั่งการความสามารถในการสื่อสารและใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพรองรับการวิเคราะห์ในรูปแบบ Descriptive, Diagnostic, Predictive and Prescriptive analysis เพื่อใช้งานในมุมมองทางธุรกิจสามารถแสดงผลข้อมูลในรูปแบบภาพที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายเพื่อค้นหาคำตอบของคำถามทางธุรกิจด้วยการรับข้อมูลแบบเรียลไทม์หรือใกล้เคียงเพิ่มความสามารถในการรวบรวมข้อมูลเพื่อให้สามารถตัดสินใจด้วย Machine learning และควบคุมกิจกรรมต่างๆ ด้วย AI เพื่อสร้างกระบวนการอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพ

โดยอุตสาหกรรม 4.0 สามารถนิยามได้ว่าเป็นการสร้างกระบวนการอัตโนมัติที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลบนเทคโนโลยีการผลิต โดยสร้างความสามารถในการรับรู้ข้อมูลจากทุกกิจกรรมทั้งในด้านการผลิตและสนับสนุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสื่อสารระหว่างกันทั้งจากเครื่องจักรไปสู่เครื่องจักรและเครื่องจักรสู่มนุษย์ จนไปถึงการสร้างกระบวนการอัตโนมัติระบบสามารถตัดสินใจดำเนินการได้เองหรือสรุปผลเหตุการณ์ให้มนุษย์สามารถทำงานได้ง่ายขึ้นผ่านข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง

ดังนั้นการสร้างกระบวนการดังกล่าวให้เกิดขึ้นเทคโนโลยีที่จะจึงมีบทบาทสำคัญและ 3 กลุ่มเทคโนโลยีหลักที่จะขับเคลื่อน อุตสาหกรรม 4.0 มี ดังนี้

1. เทคโนโลยีในกลุ่ม Data, Connectivity , Computation เพื่อสร้างกระบวนการในการจัดเก็บข้อมูล สร้างการสื่อสาร และประมวลผลข้อมูลเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการนำไปวิเคราะห์และใช้งานตามความเหมาะสมทางธรุกิจต่อไป

1.1. Sensors – เก็บข้อมูลจากกิจกรรมที่สนใจจากกายภาพสู่ดิจิตอล

1.2. Internet of things (IoT) – จัดการการสื่อสารระหว่างเครื่องจักรทั้งการนำข้อมูลไปสู่ปลายทางหรือการนำข้อมูลมาประมวลผล

1.3. Cloud technology – ใช้ในการประมวลผล/จัดเก็บการข้อมูลโดยระบบประมวลผลที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและปริมาณการใช้งาน

2. เทคโนโลยีในกลุ่ม Analytics and Intelligence Solution

2.1. Advanced analytics – นำข้อมูลแสดงผลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และตอบคำถามธุรกิจในมุมมองต่างๆ เพื่อสร้างการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหรือมองเห็นรายละเอียดของปัญหาที่เกิดขึ้นทางธรุกิจเพื่อหาแนวทางแก้ไข

2.2. Machine learningArtificial intelligence – การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้รูปแบบข้อมูลที่เพื่อใช้ในการพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น หรือช่วยในการเลือกสิ่งเหมาะสมโดยอ้างอิงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นจากพื้นฐานข้อมูลในอดีต

3. เทคโนโลยีในกลุ่ม Automation

3.1. Visual automation – กลุ่มเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น แขนกล หุ่นยนต์ขนย้ายสินค้า เพื่อลดภาระและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต

3.2. Virtual automation – โปรแกรมจัดการกระบวนการอัตโนมัติ เช่น Robotic process automation (RPA)

ซึ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวให้เกิดประสิทธิภาพตามแนวทางของอุตสาหกรรม 4.0 อาจต้องใช้ผู้เกี่ยวข้องจากหลากฝ่ายภายในองค์กรรวมถึงผู้เชี่ยวชาญในเทคโนโลยีประเภทต่างๆ เพื่อสร้างกรอบและแนวทางประประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม ซึ่งจากประสบการณ์ของเราการพัฒนาในลักษณะ Agile methodology ที่มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย รวมถึงสามารถเริ่มจากการดำเนินการพัฒนาจากขอบเขตขนาดเล็กและค่อยขยายผลไปสู้ผลลัพธ์ขนาดใหญ่จะสร้างความราบลื่นของโครงการมากกว่า

หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงแพลตฟอร์มตามแนวคิด Industry 4.0 หรืออยากเห็นตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยีในด้านต่างๆ โปรดติดต่อ BizOne เพื่อรับคำปรึกษาฟรี!

Dela artikeln på sociala medier