Transform to Industry 4.0 Part 7 – IT Versus OT

IT (information technology) VS OT (operational technology) คืออะไรและแตกต่างกันอย่างไร

ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงธุรกิจในกลุ่มอุสาหกรรมไปสู่อุสาหกรรม 4.0 เทคโนโลยีคือปัจจัยสำคัญที่จะถูกหยิบมาใช้งานเพื่อขับเคลื่อนและยกระดับกระบวนการทางธุรกิจ โดยจะประกอบไปด้วย Information technology (IT) และ Operational technology (OT) ซึ่งจะมีบทบาทหน้าที่ในการทำงานที่แตกต่างกันและมีความจำเป็นในการทำงานร่วมกันเพื่อเปลี่ยนแปลงธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างแท้จริง ในบทความนี้จะชี้แจงถึงบทบาทหน้าที่ ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันของทั้ง 2 เทคโนโลยี

ทำความรู้จักกับ Information technology (IT)

คือ การพัฒนา การจัดการ และการประยุกต์ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครือข่าย ซอฟต์แวร์ และระบบ ไอทีมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่ เนื่องจากช่วยให้ผู้คนและเครื่องจักรสามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ เช่น ระบบจัดการการเงิน, ระบบจัดการสินค้าคงคลัง, ระบบบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์, ระบบบริหารงานขายและการตลาด, ระบบจัดการคำสั่งซื้อและวางแผนการผลิต หรือ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ระบบ Enterprise resource planning (ERP) ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการและบันทึกข้อมูลจากกิจกรรมทุกส่วนที่เกิดขึ้นในธุรกิจ

ทำความรู้จักกับ Operational technology (OT)

คือ การใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อจัดการอุปกรณ์และระบบอุตสาหกรรมเฉพาะด้านเพื่อดำเนินการกระบวนการทางกายภาพต่างๆ เช่น ระบบควบคุมการผลิตพลังาน ไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าซ, ระบบจัดการและควบคุมโทรคมนาคม, ระบบควบคุมหุ่นยนต์ในสายการผลิต หรือ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ระบบ Industrial control systems (ICS) ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์/เครื่องจักรในโรงงานแบบ Real-time

ซึ่งหากนำมาสรุปให้สั้นคือ Information technology (IT) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนและจัดการข้อมูลที่เกิดขึ้นในธุรกิจ และ Operational technology (OT) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนและจัดการกระบวนการทางกายภาพของธุรกิจ

ตัวอย่างการใช้งาน

ในด้านของ Operational technology (OT) จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ใช้ประกอบการผลิต

  • Program logic control (PLC) ในการการควบคุมเครื่องจักรในกระบวนการผลิต เช่น กระบวนการลำเรียง, ควบคุมการจัดเตรียมวัตถุดิบ, ควบคุมกระบวนการแปรรูป, ควบคุมการบรรจุ และ ใช้อุปกรณ์แขนกล/หุ่นยนต์ในการนำไปจับเก็บจัดวาง
  • Building management system (BMS) ในการควบคุมและจัดการระบบอาคาร เช่น ระบบไฟฟ้า, แสงสว่าง, เครื่องปรับอากาศ, การจัดการน้ำ และ ระบบความปลอดภัย เช่น ป้องกันอัคคีภัย เป็นต้น
  • Sensors ใช้สำหรับตรวจจับข้อมูลเฉพาะด้านต่าง เช่น อุณหภูมิ, ความชื้น, การเคลื่อนไหว, รูปภาพ/วีดีโอ
  • Actuators เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่จัดการทางกายภาพไปที่เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ เช่น การปรับเปลี่ยนอุณหภูมิ, ควบคุมเครื่องปรับอากาศ, ควบคุมไฟฟ้า เป็นต้น โดยสามารถทำงานด้วยตัวเองหรือทำงานร่วมกับ BMS

ในด้านของ Information technology (IT) จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ

  •  ระบบจัดการงานขายและการตลาด
  • ระบบจัดการการผลิตและคลังสินค้า
  • ระบบบัญชี
  • ระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุง
  • ระบบบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์

หากพิจารจากตัวอย่างการใช้งานตามรายการด้านบนจะเห็นว่าเทคโนโลยีทั้งสองส่วนมีหน้าที่ของตัวเองชัดเจนและอาจดูไม่เกี่ยวข้องกันแต่หากคุณลองเชื่อมโยงของทั้งสองเทคโนโลยีเราสามารถเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจหรือประสิทธิภาพของกระบวนการต่างๆได้ เช่น

  • หากเราสามารถเก็บข้อมูลประสิทธิภาพการผลิจจากเครื่องจักรผ่าน PLC หรือ Sensors เพื่อติดตามขีดความสามารถของการผลิตแบบ Real time และจัดเก็บข้อมูลเข้าสู่ระบบจัดการการผลิตและคลังสินค้า เพื่อใช้ในการบริหารจัดการรวมถึงการพยากรณ์ปริมาณผลิตและจัดเก็บสินค้าที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  • ควบคุณระบบปรับอากาศและแสงสว่างผ่านระบบ Building management system (BMS) โดยอาจติดตามจากปริมาณพนักงานที่เข้าทำงานในพื้นที่จากระบบจัดการทรัพยากรบุคคล หรือ ทำงานควบคู่กับ Sensors เพื่อตรวจสอบอุณหภูมิ หรือ กล้องเพื่อตรวจสอบว่ามีคนเข้าใช้งานพื้นที่ต่างๆ เพื่อเปิด/ปิด หรือ ปรับอากาศและแสงสว่างให้เหมาะสม รวมถึงอาจดึงข้อมูลจากระบบบัญชีเพื่อตรวจสอบค่าไฟฟ้าเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพและนำมาแสดงในรูปแบบ Dashboard บน Power Bi เพื่อติดตามผลการเปลี่ยนแปลง
  • การวัดประสิทธิภาพผลผลิตของเครื่องจักรโดยประเมินผ่านแผนการผลิตจากระบบจัดการการผลิตและคลังสินค้าเปรียบเทียบผลผลิตจริงที่เครื่องจักรสามารถทำได้รวมถึงพลังงามที่เครื่องจักรใช้ไปโดยนำข้อมูลจาก PLC หรือ Sensors โดยสามารถนำระบบ IT มารวบรวมข้อมูลและดึงผลไปแสดงบนรายงานผ่าน Power BI เพื่อติดตามสถานะแบบ Real time และ สามารถบันทึกข้อมูลไว้สำหรับนำมาดูย้อนหลังเพื่อใช้ในการวิเคราะห์
  • การติดตามสถานะเครื่องจักรเพื่อวางแผนการซ่อมบำรุงณ์ โดยการดูข้อมูลสถานะเครื่องจักรที่อาจส่งผลต่อการหยุดทำงานของเครื่องจักร เช่น อุณหภูมิ, ความชื้น, ประสิทธิภาพผลผลิต เทียบกับข้อมูลการซ่อมบำรุงณ์ในอดีตจากระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงเพื่อใช้วางกำหนดการซ่อมบำรุงณ์เพื่อลดโอกาศเกิดสายการผลิตหยุดชะงัก (Production line stop) หรือ หากตรวจพบความเสี่ยงในการเกิดก็สามารถให้ระบบแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการตรวจสอบ
  • การควบคุมคุณภาพสินค้าโดยการติดตั้ง Sensors รูปแบบต่างๆเพื่อตรวจตรวจจับสินค้าที่บกพร่องเพื่อใช้ในการวางกระบวนการคัดแยกแบบอัตโนมัติและเก็บข้อมูลเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการคำนวน ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE)

จากตัวอย่างที่ข้างต้นจะสังเกคุเห็นว่าหากเราสามารถนำ IT และ OT มาประสานกันเราจะสามารถนำข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงจากจากระบวนการหรือเหตุการณ์ต่างๆ ในธุรกิจที่เราสนใจมาประมวลผลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการหรือใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจโดยสามารถทำเป็นลักษณะติดตามเหตุการณ์ณปัจจุบันหรือรวมรวบและบันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อใช้วิเคราะห์แนวโน้มและพยากรณ์เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นหรือต้องการทำให้เกิดขึ้นในอนาคตได้

สุดท้ายอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีความสำคัญและถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมากในปัจจุบันคือ Internet of Thing  หรือ IoT

Internet of things (IoT) คือ อุปกรณ์หรือวัตถุใดๆ ที่ประกอบด้วย Hardware, Software, Sensors, Actuators และ เทคโนโลยีอื่นๆ ทีมีวัตถุประสงค์ในการประมวลผล, ควบคุม และ เชื่อมต่อ/สื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลไปยังอุปกรณ์และระบบอื่นๆได้ โดยผ่านอินเตอร์เน็ต (Internet) หรือเครือข่ายการสื่อสารใดๆ ตัวอย่าง เช่น อุปกรณ์กล้องวงจรปิดที่สามารถแจ้งเตือนหรือดูผ่านสมาร์ทโฟน หรือ อุปกรณ์แท๊ก (Tag device) ที่สามารถแจ้งตำแหน่งของตัวเองกลับมายังสมาร์ทโฟน เป็นต้น โดยเราจะนำเสนอรายละเอียดของ IoT ในบทความต่อๆไป

หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงแพลตฟอร์มตามแนวคิด Industry 4.0 หรืออยากเห็นตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยีในด้านต่างๆ โปรดติดต่อ BizOne เพื่อรับคำปรึกษาฟรี!

Dela artikeln på sociala medier