Transform to Industry 4.0 Tech talk Part 1

จากที่เราเคยกล่าวถึงเทคโนโลยีและเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาสู่อุตสาหกรรม 4.0 นั้นมีความหลากหลายและเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างองค์ประกอบหลายชนิดเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ซึ่งมีผู้พัฒนาหลายรายได้รวมกลุ่มของเครื่องมือดังกล่าวมาให้บริการในลักษณะ Platform เพื่อสร้างความสะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งจากความต้องการในตลาดและความหลากหลายของ Platform ทำให้ Gartner ได้เข้ามาทำการศึกษาและพิจารณาความสามารถเทคโนโลยีในกลุ่ม Industrial IoT Platforms บนเกณการพิจารณาใน 2 ด้านและได้สรุปผลให้ Microsoft เป็นผู้นำ Industrial IoT Platforms ประจำปี 2021 จากคะแนนประเมินสูงสุดทั้งด้านความครอบครุมของวิสัยทัศน์และความสามารถในการดำเนินการ

Gartner คือใคร?

บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลก พวกเขาให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จำเป็นผ่านแหล่งข้อมูลของ Gartner Research, Gartner Executive Programs, Gartner Consulting และ Gartner เพื่อวิจัย วิเคราะห์ และตีความเทคโนโลยี/ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศภายใต้บริบทของบทบาทในด้านนั้นๆ โดยก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522

คำอธิบาย โดย Gartner

คำนิยามโดยตลาด/คำจำกัดความ

Gartner ได้นิยามตลาดของแพลตฟอร์มด้าน industrial Internet of Things (IIoT) ว่าเป็นชุดของซอฟต์แวร์แบบบูรณาการที่มีความสามารถในการปรับปรุงการตัดสินใจในด้านจัดการสินทรัพย์ภายในอุตสาหกรรมกลุ่ม Asset intensive รวมถึงแพลตฟอร์ม IIoT ยังสร้างความสามารถในการมองเห็น/รับรู้การรายละเอียดระดับปฏิบัติการและการควบคุมสำหรับ โครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์ภายในโรงงานอุตสาหรกรรม

ความสามารถของแพลตฟอร์ม IIoT

แพลตฟอร์ม IIoT ประกอบด้วยฟังก์ชันเทคโนโลยีต่อไปนี้:

  1. การจัดการอุปกรณ์ (Device management) — ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้งานแบบแมนนวลและแบบอัตโนมัติในการ สร้าง จัดเตรียม กำหนดค่า แก้ไขปัญหา และจัดการกลุ่มอุปกรณ์ IoT และเกตเวย์จากระยะไกล โดยรอบรับการจัดการอุปกรณ์เป็นกลุ่มหรือทีละรายการ ได้อย่างมีความปลอดภัย
  2. การบูรณาการ (Integration) — ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ เครื่องมือ และเทคโนโลยี เช่น โปรโตคอลสำหรับการสื่อสาร, API และแอปพลิเคชันอะแดปเตอร์ (application adapters) ซึ่งใช้ในการระบุถึงข้อมูล, กระบวนการ, แอปพลิเคชันระดับองค์กร (enterprise application) และ IIoT ecosystem สำหรับความต้องการในบูรณาการเพื่อการพัฒนาระหว่าง Cloud และ On-premise บนโซลูชันแบบ end-to-end รวมถึงอุปกรณ์ IIoT (เช่น โมดูลการสื่อสารและตัวควบคุม), IIoT ), IIoT gateways, IIoT edge และแพลตฟอร์ม IIoT
  3. การบริหารจัดการข้อมูล (Data management) — ฟังก์ชันนี้ประกอบด้วย
  • การรับส่งข้อมูลระหว่าง IoT endpoint และอุปกรณ์ edge
  • การจัดเก็บข้อมูลจาก edge ไปยังแพลตฟอร์มระดับองค์กร (enterprise platforms)
  • การมอบสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล (สำหรับอุปกรณ์, ระบบ IT และ OT และบุคคลภายนอก เมื่อจำเป็น)
  • การติดตามเส้นทางและการไหลของข้อมูล
  • การบังคับใช้นโยบายการกำกับดูแลและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพ ความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัวและคุณค่าของข้อมูล
  1. การวิเคราะห์ (Analytics) — ฟังก์ชันนี้ครอบครุมถึงการประมวลผลข้อมูลแบบสตรีมจากแหล่งข้อมูลต่าง เช่น as device, enterprise และ contextual data เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานะสินทรัพย์โดยการตรวจสอบการใช้งาน การระบุตัวบ่งชี้ รูปแบบการติดตาม และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ โดยสามารถนำเทคนิคต่างๆ มาใช้ประกอบกัน เช่น rule engines, event stream processing, data visualization และ machine learning
  2. การเปิดใช้งานและการจัดการ Application — ซอฟต์แวร์ที่สามารถเปิดใช้งานแอปพลิเคชันทางธุรกิจตามรูปแบบทีต้องการการปรับใช้งาน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและบรรลุฟังก์ชันทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ IoT โดยส่วนประกอบซอฟต์แวร์หลักต้องสามารถจัดการระบบปฏิบัติการ อินพุตและเอาต์พุตมาตรฐาน หรือระบบไฟล์เพื่อเปิดใช้งานส่วนประกอบซอฟต์แวร์อื่นๆ ของแพลตฟอร์ม ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มแอปพลิเคชันในฐานะบริการ (aPaaS) รวมถึง application-enabling infrastructure components, application development, runtime management and digital twins แพลตฟอร์มดังกล่าวช่วยให้ผู้ใช้บรรลุความสามารถใน “cloud scale” ทั้งด้านขนาด (scalability) และความน่าเชื่อถือ (reliability) จนไปถึงการ deploy และ deliver โซลูชัน IoT ได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น
  3. ความมั่นคงปลอดภัย (Security) — ฟังก์ชันนี้รวมถึงซอฟต์แวร์ เครื่องมือ และแนวปฏิบัติที่อำนวยความสะดวกในการตรวจสอบและรับรองการปฏิบัติตามข้อกำหนด นอกจากนี้ยังกำหนดการควบคุมและการดำเนินการเชิงป้องกัน ตรวจสอบ และแก้ไข เพื่อรับรองความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลในโซลูชัน IIoT

อ้างอิงจากข้อมูลข้างต้น Gartner ได้กล่าวถึง Microsoft ดังนี้:

เป็นผู้นำโดยการพิจารณาจาก Magic Quadrant โดย Azure IoT ชุดบริการบน Azure platform ซึ่ง Azure IoT ใช้ประโยชน์ต่อยอดจากความครอบคลุมของ Microsoft platform และเสนอบริการ cloud, edge และ ตัวเลือกการพัฒนาแบบ hybrid บริการ Azure IoT รองรับการทำงานแบบ on-premises และ Azure IoT edge solutions นำเสนอการแยกสถาปัตยกรรมที่ปลอดภัยผ่านวิธีการปรับใช้แบบ hierarchical

Azure IoT มอบตัวเร่งและล่นเวลาการพัฒนาและโซลูชัน ซึ่งรวมถึง MLOps และ DevOps โดยเฉพาะสำหรับ IoT และสามารถแทนที่ legacy operational technology (OT) บางอย่าง เช่น ตัวเก็บบันทึกประวัติการทำงาน (historians)

อีกทั้ง Microsoft ใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของ Partner เช่น Accenture, Infosys และ PwC ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อเสนอโดยตรงของ Microsoft และ marketplace สำหรับซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่นได้อีกด้วย

More detail and information

Microsoft

https://azure.microsoft.com/en-gb/blog/microsoft-named-a-leader-in-the-2021-gartner-magic-quadrant-for-industrial-iot-platforms/

Garter

https://www.gartner.com/doc/reprints?id=1-27IESWUW&ct=210922&st=sb

หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงแพลตฟอร์มตามแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 หรือต้องการดูตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยีในด้านต่างๆ โปรดติดต่อ BizOne เพื่อขอรับคำปรึกษาฟรี!หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงแพลตฟอร์มตามแนวคิด Industry 4.0 หรืออยากเห็นตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยีในด้านต่างๆ โปรดติดต่อ BizOne เพื่อรับคำปรึกษาฟรี!

Dela artikeln på sociala medier