Transform to Industry 4.0 Part 5

การประเมินความคุ้มค่าจากการลงทุนจะเห็นประโยชน์ในเชิงปริมาณได้อย่างชัดเจนเมื่อเราได้นำกระบวนการ Transformation ไปใช้งานได้ถึงในระดับ 2. การสร้างกระบวนการใช้งานข้อมูลบนกิจกรรมทางธุรกิจ หรือ 3. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความได้เปรียบ ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องผ่านการพัฒนากระบวนการที่ 1. สร้างกระบวนการเก็บข้อมูลแบบดิจิตอลให้แล้วเสร็จ โดยบทความนี้จะนำเสนอวิธีการประเมินความคุ้มค่ารวมถึงการยกตัวอย่างเครื่องมือที่เหมาะสมในการนำข้อมูลมาพิจารณา

*หมายเหตุ นี่เป็นเพียงตัวอย่างประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการการเปลี่ยนแปลงไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ทั่วไป ทั้งนี้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริงขึ้นอยู่กับรูปแบบองค์กรและขอบเขตการพัฒนาของท่านซึ่งอาจมีประโยชน์มากกว่าหรือน้องกว่าแตกต่างกันไป

1.      ประเมินประโยชน์

1.1.   เพิ่มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล

1.1.1.    การเพิ่มผลผลิตโดยเพิ่มขีดความสามรถในการจัดการทรัพยากรในการทำงาน, ป้องกันปัญหา, การเร่งกระบวนการผลิต และอื่นๆ โดยการนำข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละกิจกรรมมาวิเคราะห์เพื่อทราบถึงสถานะการณ์ปัจจุบันที่องค์กรดำเนินการ จนถึงการนำข้อมูลมาพยากรณ์/ทำนายเพื่อหาแนวทางในการตัดสินใจปรับปรุงและเพิ่มผลผลิตบนพื้นฐานของข้อมูล

1.1.2.    ปรับปรุงคุณภาพโดยการเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบติดตามคุณภาพสินค้าแยกตามขั้นตอนการผลิตทำให้สามารถทราบถึงจุดอ่อน/แข็งของสายการผลิตในด้านคุณภาพเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงหรือการทำตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) ที่มีความจำเป็นมากในอุตสาหกรรมอาหาร หรือ เป็นส่วนสำคัญในกิจกรรมการกำกับดูแลและการตรวจสอบขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับมาตรฐาน

1.1.3.    ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) คือการคำนวณความสามารถในการทำงานของเครื่องจักร โดยอ้างอิงจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและสรุปออกมาในรูปแบบเปอเซ็น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม 4.0 สร้างความสามารถในการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเครื่องจักรเพื่อคำนวณค่า OEE หรือเพิ่มขีดความสามารถในการพิจารณารายละเอียดได้มากขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ในการวางแผนการผลิตให้ดึงประสิทธิภาพเครื่องจักรได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

โดยการคำนวณ OEE จะหาสัดส่วนเฉลี่ยขององค์ประกอบ 3 ด้านจากเครื่องจักร คืออัตราการเดินเครื่องจักร (Availability)ประสิทธิภาพของเครื่องจักร (Performance Efficiency)อัตราคุณภาพ (Quality Rate)OEE = Availability x Performance Efficiency x Quality Rate

1.1.4.    ความยืดหยุ่นและคล่องตัวขององค์กรเนื่องจากปัจจุบันตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ซึ่งผู้ผลิตต้องแข่งขันเพื่อตอบสนองความเหล่านั้น ขีดความสามารถในการเปลี่ยนแปลงที่ยืดหยุ่นและการบริการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมาสามารถเพิ่มขีดความสามารถ เช่น ติดตามกระแสปริมาณการซื้อที่เพิ่มขึ้นเพื่อวางแผนการผลิต การตรวจสอบเปรียบเทียบข้อมูลความต้องการสินค้าและราคาในตลาด การรวมใบสั่งงานที่ใช้วัสดุเดียวกันเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง และนำเสนอมุมมองธุรกิจด้านต่างๆแบบเรียลไทม์จะช่วยเพิ่มผลกำไรและความได้เปรียบในตลาด

1.1.5.    การตอบสนองความต้องการของลูกค้า จากรูปแบบการซื้อขายที่เปลี่ยนไปผู้ผลิตสินค้าสามารถจำหน่ายสินค้าตรงไปยังผู้บริโภค ซึ่งทำให้เกิดความใกล้ชิดกับผู้ใช้งานสินค้ามากยิ่งขึ้นและสามารถรวบรวมข้อมูลการใช้งานและความต้องการของผู้บริโภคมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการหรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย

1.2.   ลดกระบวนการ/ต้นทุน

1.2.1.    ต้นทุนบุคลากร โดยการใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพหรือลดงานที่ไม่คุ้มค่าหากจัดทำโดยมนุษย์ เช่น การจัดทำรายงานย้อนหลัง 5 ปีถึงความสอดคล้องระหว่างผลผลิต กำลังการทางผลิตและความต้องการของตลาด หรือ ต้องการเปรียบเทียบการสั่งซื้อวัตถุดิบจากคู่ค้าเพื่อวางแผนกการต่อรองและจัดซื้อ ในกรณีนี้หากเป็นระบบ Manual แบบเก่าอาจต้องการรวบรวมข้อมูลจากหลายส่วนงาน ใช้เวลานานในการรวบรวมและตรวจสอบ รวมถึงอาจพบว่าข้อมูลมีความผิดพลาด/ไม่สมบูรณ์ทำให้ข้อมูลประกอบรายงานไม่น่าเชื่อถือและใช้ต้นทุนแรงงานจำนวนมากในการสร้างขึ้น หากทำโดยเทคโนโลยีตามแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 สามารถเรียกใช้งานผ่านระบบ Business Intelligence (BI) เพื่อดูรายงานได้แบบ Real time บนข้อมูลที่ระบบได้ผ่านการเก็บบันทึกแบบอัตโนมัติไว้แล้ว

1.2.2.    ต้นทุนค่าวัสดุสิ้นเปลืองและดูแลเครื่องจักร การเก็บข้อมูลการใช้งานวัสดุและเครื่องจักรประกอบการผลิตเพื่อวิเคราะห์แนวทางการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการวางแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เนื่องจากในหลายอุตสาหกรรมต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำกับดูแลให้เกิดความเหมาะสมซึ่งหากการบำรุงเครื่องจักรและเปลี่ยนวัสดุสิ้นเปลืองน้อยเกินไปอาจเกิดความเสียหายต่อเครื่องจักรและส่งผลกระทบต่อแผนการผลิต หรือหากมากเกินไปทำให้ต้นทุนที่สูงเกินจำเป็น ซึ่งสามารถเทคโนโลยีจะมีบทบาทในการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญให้สามารถตัดสินในได้แม่นยำมากขึ้นและภายใต้แผนการที่เหมาสม

1.2.3.    ความผิดพลาดและความเสี่ยง การกระบวนการเพื่อเก็บข้อมูลประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) และกระบวนการต้นทุนค่าวัสดุสิ้นเปลืองและดูแลเครื่องจักรทำให้เราสามารถมองเห็นถึงความผิดพลาดและความเสียงที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อวางแผนและแนวทางการป้องกันส่งเหล่านี้ แต่หากเราสามารถเพิ่มมุมมองเรื่องการจัดเก็บและบันทึกรายละเอียดความผิดพลาด ก็สามารถนำมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อวางแผนการจัดการความผิดพลาดและความเสี่ยงในระยะสั้นจนถึงระยะยาวได้ เช่น ในกรณีมีการเก็บข้อมูลการหยุดฉะงักของการผลิตแต่มีการเก็บรายละเอียดของปัญหาและแนวทางการแก้ไขที่ฉัดเจน ซึ่งนำไปสู่การพิจารณาการซื้อเครื่องจักรโดยชี้ไปยังเครื่องจักรเหมาะสมและสามารถเปรียบความคุ้มค่าจากความเสียหาย ต้นทุนการแก้ปัญหา และต้นทุนการซื้อเครื่องจักรใหม่ได้เป็นต้น

1.2.4.    ความซ้ำซ้อนในการทำงาน การพัฒนาโดยการนำเทคโนโลยีมาต่อเชื่อมกระบวนการทำงานต่างๆ สามารถลดความซ้ำซ้อนของกิจกรรมการทำงานได้อย่างชัดเจน อย่างเช่นในกรณีการได้รับคำสั่งซื้อ อาจต้องมีการตรวจสอบกับฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายวางแผนการผลิต ฝ่ายการผลิต และฝ่ายการจัดส่งสินค้า ซึ่งข้อมูลอาจมีการคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดได้ แต่หากระบบสามารถเชื่อมต่อระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันให้ผู้ดำเนินการสามารถเห็นข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงานของตนเองได้อัตโนมัติความซ้ำซ้อนก็จะหมดไป​​​​

2.      ประเมินต้นทุน

สามารถประเมินได้โดยการรวมต้นทุนค่าใช้จ่ายเพื่อที่จะได้มาซึ่งการเปลี่ยนแปลง ไปยังอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งโดยปกติจะมีองค์ประกอบดังนี้

2.1.  Hardware กลุ่มวัสดุ/อุปกรณ์ทางกายภาพต่างๆ เช่น เครื่องจักร, เครื่องคอมพิวเตอร์, เซ็นเซอร์, อุปกรณ์ IoT ขึ้นอยู่กับรูปแบบระบบที่เราต้องการนำมาใช้งานในองค์กร

2.2.  Software/Tools กลุ่มระบบอละเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างกระบวนการทางดิจิตอลในการเก็บข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลข้อมูลเพื่อใช้ประกอบ เช่น โปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ IoT, ระบบจัดเก็บข้อมูล (ETL), ระบบบันทึกและจัดการข้อมูล (Data warehouse), ซอฟต์แวร์วิเคราะห์และแสดงผลข้อมูล (Business Intelligence) และระบบอื่นๆ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และความต้องการขององค์กร

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ Cloud ที่สามารถส่งมอบบริการและการใช้งานในลักษณะ Software as a Service (SaaS) ที่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วน Hardware และ Software ลงเนื่องจากไม่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่หรือเครื่องมือสำหรับติดตั้งใช้งานและไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Software บนเครื่องดังกล่าว เราเพียงแค่ซื้อบริการการใช้งานบนนระบบของผู้ให้บริการผ่าน Internet ซึ่งผู้ให้บริการจะคิดค่าใช้จ่ายตามปริมาณที่ใช้งานจริงซึ่งมีราคาที่ต่ำกว่ามากสำหรับผู้เริ่มต้น รวมถึงมีความหยืดหยุ่นในการลดเพิ่มปริมาณการใช้งานตามความเหมาะสม

2.3.  Implementation/Operation การพัฒนาและประยุกต์เทคโนโลยีมาใช้งานในองค์กรเป็นสิ่งหนึ่งที่หลายองค์กรติดปัญหาในการเลือกพัฒนาระบบด้วยตนเองหรือจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมากช่วยพัฒนา ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกและวิธีการคิดต้นทุนที่แตกต่างกัน ดังนี้

2.3.1.       In House Development​​​​

ข้อดีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมีความเข้าใจในธุรกิจและความต้องการสามารถดูแลต่อด้วยตนเองได้
ข้อเสียมีข้อจำกัดเรื่องขอบเขตการพัฒนาตามจำนวนคนขององค์กรต้องให้เวลาในการพัฒนาทักษะศึกษาการใช้เครื่องมือต้องพัฒนาประสบการณ์ใหม่
ต้นทุนต้นทุนเวลาของบุคลากรที่ร่วมทีมพัฒนาแต่สามารถคิดเป็นจำนวนเงินได้โดยเวลาดำเนินโครงการคูณอัตราเงินเดือนต้นทุนด้านเวลาดำเนินโครงการ


2.3.1.       Outsource

ข้อดีมีความเชี่ยวชาญและประสบกาณ์ในเทคโนโลยีลดเวลาการพัฒนาไม่มีข้อกำจัดเรื่องทรัพยากรกระทบฝ่ายปฏิบัติงานปกติขององค์กรน้อย
ข้อเสียเสียค่าใช้จ่ายภายนอกต้องถ่ายองค์ความต้องการและปรับความเข้าใจในธรกิจองค์กรอาจไม่สามารถเรียนรู้เพื่อดูแลต่อได้
ต้นทุนค่าจ้างพัฒนาต้นทุนด้านเวลาดำเนินโครงการ

3.      การประเมินความคุ้มค่า

3.1.  การประเมินประโยชน์ที่จะได้รับ สามารถทำได้ 2 รูปแบบ

3.1.1.    การประเมินโดยสร้างเกณฑ์ประโยชน์กับความเร่งด่วนตามปัจจัยในหัวข้อที่ 1 โดยแบ่งเป็นระดับสูงกลางต่ำและทำการประเมินลักษณะของปัจจัยของประโยชน์ต่างตกอยู่ในระดับใดบ้าง มีข้อดีคือสามารถจัดทำได้อย่างรวดเร็วและสามารถเห็นกรอบความต้องการขององค์กรในภาพรวมเพื่อกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบ​​​​​​

 ประโยชน์ความเร่งด่วน
เพิ่มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล
เพิ่มผลผลิตกลางสูง
ปรับปรุงคุณภาพสูงสูง
ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE)กลางกลาง
ความยืดหยุ่นและคล่องตัวกลางต่ำ
การตอบสนองความต้องการของลูกค้าต่ำต่ำ
ลดกระบวนการ/ต้นทุน
ต้นทุนบุคลากรสูงต่ำ
ต้นทุนค่าวัสดุสิ้นเปลืองและดูแลเครื่องจักรกลางสูง
ความผิดพลาดและความเสี่ยงสูงสูง
ความซ้ำซ้อนในการทำงานต่ำกลาง

 
3.1.2.    ประเมินเป็นในรูปแบบเชิงปริมาณโดยกำหนดสัดส่วนหรือมูลค่าตามปัจจัยโดยคาดการณ์ประสิทธิภาพที่จะเพิ่มขึ้นขั้นต่ำหลังการพัฒนา มีข้อดีในเรื่องเห็นข้อมูลเชิงปริมาณที่ชัดเจนแต่มีความยากในการรวบรวมและพิจารณาข้อมูล

 ค่าเฉลี่ยปัจจุบันเป้าหมาย
เพิ่มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล
เพิ่มผลผลิต100%+3%
ปรับปรุงคุณภาพ70%+10%
ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE)85%+5%
ความยืดหยุ่นและคล่องตัว50%+30%
การตอบสนองความต้องการของลูกค้า30%+50%
ลดกระบวนการ/ต้นทุน
ต้นทุนบุคลากร100%-60%
ต้นทุนค่าวัสดุสิ้นเปลืองและดูแลเครื่องจักร100%15%
ความผิดพลาดและความเสี่ยง10%-5%
ความซ้ำซ้อนในการทำงาน100%-5%


ในกรณีต้องการประเมินเป็นตัวเงินต้องทำการประเมินเป็นลักษณะเชิงปริมาณเท่านั้นและนำเปอร์เซ็นต์ไปคูณกับต้นทุนในหัวข้อนั้นๆ ซึ่งอาจทำให้การได้มาซึ่งข้อมูลซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เช่น ต้นทุนบุคลากรสามารถคิดจากเงินเดือนคนในกิจกรรมนั้นโดยคิดเป็นรายชั่วโมงที่ใช้ทั้งคือมูลค่าปัจจุบันและลบหลังพัฒนาออกไป 60% จะได้ยอดค่าใช้จ่ายที่ลดลง

3.2.  การประเมินต้นทุน อ้างอิงเป็นจำนวนมูลค่าเงินที่ใช้ในส่วนต่างๆ

3.2.1.       แบบภาพรวม

2.1.        Hardware
เซ็นเซอร์10X0,000
เครื่องคอมพิวเตอร์1X0,000
อุปกรณ์ IoT10X0,000
2.2.        Software/Tools
   
   
2.3.        Implementation/Operation
   

3.2.2.    แบบแยกส่วนการลงทุนตามด้านที่ต้องการปรับปรุง

การเพิ่มผลผลิต
2.1.        Hardware
   
2.2.        Software/Tools
   
2.3.        Implementation/Operation
   
การลดต้นทุนบุคลากร
2.1.        Hardware
   
2.2.        Software/Tools
   
2.3.        Implementation/Operation
   
ด้านอื่นๆ

3.3.  การเปรียบเทียบ

จากวิธีการดังกล่าวเราสามารถทำการเปรียบเทียบประโยชน์ต่อค่าใช้จ่ายเพื่อนำมาพิจารณาถึงความคุ้มค่าเหมาะสมหรือเลือกทำเพียงบางส่วนตามความจำเป็น เช่น

 ประโยชน์ความเร่งด่วนยอดลงทุน
เพิ่มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล 
เพิ่มผลผลิตกลางสูงX0,000
ปรับปรุงคุณภาพสูงสูงX0,000
ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE)กลางกลางX0,000
ความยืดหยุ่นและคล่องตัวกลางต่ำX0,000
การตอบสนองความต้องการของลูกค้าต่ำต่ำX0,000
ลดกระบวนการ/ต้นทุน 
ต้นทุนบุคลากรสูงต่ำX0,000
ต้นทุนค่าวัสดุสิ้นเปลืองและดูแลเครื่องจักรกลางสูงX0,000
ความผิดพลาดและความเสี่ยงสูงสูงX0,000
ความซ้ำซ้อนในการทำงานต่ำกลางX0,000

นี่เป็นเพียงแนวทางการประเมินความคุ้มค่าจากการลงทุนซึ่งแต่องค์กรแต่ละองค์กรต้องเป็นผู้กำหนดเกณฑ์ที่เหมาะสมของตนเองและสามารถเพิ่มเติมปัจจัยอื่นๆ ที่เหมาะสมประกอบการวิเคราะห์คุณค่าหรือประโยชน์ต่อการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้งาน

หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงแพลตฟอร์มตามแนวคิด Industry 4.0 หรืออยากเห็นตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยีในด้านต่างๆ โปรดติดต่อ BizOne เพื่อรับคำปรึกษาฟรี!​​

Dela artikeln på sociala medier