Transform to Industry 4.0 Part 3

กรอบกระบวนการเพื่อนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงองค์กรและสร้างความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ Industry 4.0 ในบทความนี้จะกล่าวถึงขั้นตอนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมต่างๆ

1.      การประเมินและกำหนดขอบเขต (Assessment and scoping)

ดำเนินการตรวจสอบสิ่งที่มีอยู่โดยอ้างอิงจากความก้าวหน้าในการทำ Digitization และ Digitalization ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือ, กระบวนการ และความพร้อมของบุคลากร โดยต้องแยกกันตรวจสอบตามกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ ขององค์กรเนื่องจากแต่ละกิจกรรมอาจมีความพร้อมในการทำ Transformation ไม่เท่ากัน รวมถึงแผนกเทคโนโลยีต้องมีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้ข้อมูลแผนกต่างๆ ถึงเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่อยู่เนื่องจากอาจพบได้ว่ามีเครื่องมืออยู่แต่ไม่ถูกใช้งาน โดยการสร้างแบบสำรวจความพร้อม (Readiness checklist) และนำข้อมูลที่ได้มากำหนดเป้าหมายและขอบเขตระยะสั้นหรือยาวก็สามารถทำได้โดยคำนึงความเป็นไปได้และสอดคล้องกับความพร้อมองค์กรเป็นสำคัญ  

บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

  • ​​​​ผู้บริหารระดับสูง
  • หัวหน้าแผนกต่างๆ
  • แผนกเทคโนโลยี
  • เจ้าของกระบวนการหรือผู้ดำเนินการ ​​​​​​​

2.      การจัดเตรียมและวางแผน (Prepare and Planning)

นำเป้าหมายและผลการตรวจความพร้อมมาเปรียบเทียบเพื่อหาส่วนที่ขาด (Gap) และแบ่งออกเตามกลุ่มเพื่อง่ายต่อการบริหารจัดการและวางแผนพัฒนาต่อไป เช่น

  • ขาดเทคโนโลยีและเครื่องมือ
  • กระบวนการยากต่อการทำ Digitalization
  • ข้อมูลไม่เพียงพอต่อการใช้งานจากการไม่มีการจัดเก็บหรือไม่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล(Digitization)
  • ไม่สามารถนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาปรับใช้กับกระบวนการจริงได้
  • การขาดความรู้ความเข้าใจของบุคลากร

โดยเราสามารถจัดเตรียมและวางแผนการพัฒนาโดยเลือกบางส่วนที่สำคัญมาดำเนินการก่อนหรือหลังตามความเหมาะสมหรือเลือกตัดบางส่วนออกจากแผนการพัฒนาในกรณีที่อาจไม่คุ้มค่าหรือไม่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจในขณะนั้น

บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

  • หัวหน้าแผนกต่างๆ
  • แผนกเทคโนโลยี​​​​​​​

3.      การสร้างต้นแบบและโครงการ (Prototyping and Project)

ทบทวนรายละเอียดแผนและความพร้อมในปัจจุบันที่สามารถที่มีแนวโน้มหรือความจำเป็นในการดำเนินการก่อน ซึ่งสามารถนำมาดำเนินการได้ 2 รูปแบบ

  • สร้างต้นแบบ (Prototyping) ในกรณีมีความไม่มั่นใจผลพัทธ์ เทคโนโลยี หรือความเป็นไปได้ โดยจัดตั้งโครงการขนาดเล็กที่สามารถพิสูจน์ความไม่ชัดเจนดังกล่าว ซึ่งอาจจัดทำในลักษณะ พิสูจน์หลักการความเป็นไปได้ หรือ การสร้างโครงการระยะสั้นเพื่อได้เห็นผลลัพธ์การทำงานจริง โดยหากลัพธ์การจัดทำโครงการเป็นแนวโน้มในทางบวกก็สามารถนำไปต่อยอดและขยายผลเป็นโครงการต่อไป หรือ หากไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็เพียงเสียทรัพยากรไปเล็กน้อย
  • โครงการ (Project) กรณีมีเป้าหมายจัดเจนสามารถดำเนินการจัดตั้งโครงตามแผนโดยใช้แนวทางการพัฒนาแบบ Agile โดยเลือกดำเนินการโครงการที่สามารถทำได้ง่ายหรือเริ่มได้เร็ว (Low hanging fruit) เพื่อสร้างผลลัพธ์เข้าสู่กระบวนการถัดไปเพื่อทวบทวนและขยายผลต่อไป

บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

  • หัวหน้าแผนกต่างๆ
  • แผนกเทคโนโลยี
  • เจ้าของกระบวนการหรือผู้ดำเนินการ ​​​​​​​

4.      ทบทวนและปรับปรุง (Review and Improving)

ติดตามและทบทวนผลลัพธ์ของโครงการต่างๆ ว่าสามารถตอบโจทย์และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ตามแผนหรือไม่ รวมถึงศึกษาปัญหาและจุดที่สามารถปรับปรุงได้ เพื่อนำไปพัฒนาโครงการเดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหรือใช้เป็นรากฐานในขั้นตอนต่อไปสำหรับต่อยอดโครงการใหม่เพื่อสร้างจุดเริ่มต้นที่ดีกว่า รวมถึงสามารถใช้ในการบริหารจัดการและปรับปรุง หรือรวมกระบวนการ เครื่องมือ/เทคโนโลยี ให้เกิดความเหมาะสมยิ่งขึ้น

บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

  • ​​​​​​​​​​​ผู้บริหารระดับสูง
  • หัวหน้าแผนกต่างๆ
  • แผนกเทคโนโลยี
  • เจ้าของกระบวนการหรือผู้ดำเนินการ ​​​​​​​

5.      การรับรู้และการขยายผล (Awareness and Expanding)

สร้างกระบวนการในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประโยชน์ และผลสำเร็จของการพัฒนาโครงการโดยให้กลุ่มคณะทำงานได้นำประสบการณ์และสิ่งที่ได้รับมาถ่ายทอดให้ผู้บริหารและบุคลากรในส่วนงานให้ได้เห็นความเป็นมาและผลสำเร็จเพื่อหาแนวทางในการต่อยอดจากผลสำเร็จของโครงการเดิมหรือกลับมาทบทวนเป้าหมายในกิจกรรมแรกอีกครั้งก็สามารถทำได้

บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

  • หัวหน้าแผนกต่างๆ
  • เจ้าของกระบวนการหรือผู้ดำเนินการ ​​​​​​​

หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงแพลตฟอร์มตามแนวคิด Industry 4.0 หรืออยากเห็นตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยีในด้านต่างๆ โปรดติดต่อ BizOne เพื่อรับคำปรึกษาฟรี!

Dela artikeln på sociala medier